วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คู่มือการใช้ของโปรแกรมมายา

คู่มือการใช้ของโปรแกรมมายา

          เนื่องจากอิเฎลพึ่งเข้าอบรม เรียนรู้การสร้างวัตถุด้วยโปรแกรม Maya ซึ่งเป็นโปรแกรม 3D ตัวหนึ่ง จึงอยากนำความรู้มาแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ผู้อ่านเว็บไซต์ของเรา
          การให้ความรู้ เท่ากับการสร้างคน ให้เท่าไรก็ไม่มีวันหมด อีกทั้งยังถือเป็นวิทยาทานอีกด้วย แต่ถ้าใครคัดลอกบทความใด ๆ ก็ตาม เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งเว็บไซต์ที่มีโฆษณา และสื่ออื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลกำไร ผู้นั้นไม่ได้ทำทาน แถมยังผิดศีลข้อ 2 ซึ่งจะถูกตัดมือในขุมนรก
เริ่มเรียนกันไปพร้อม ๆ กันเลยน่ะครับ
1. เปิดโปรแกรม Autodesk Maya ขึ้น ชื่อเจ้าของฟังดูคุ้น ๆ ทีแรกก็คิดว่าวิธีจะคล้าย ๆ 3Ds Max เพราะเจ้าของเดียวกัน แต่กลับสร้างความงงเป็นอย่างมากให้กับอิเฎลซึ่งเคยใช้ 3Ds Max คือ ศักยภาพและเครื่องมือต่าง ๆ ของทั้ง 3Ds Max และ Maya จะคล้าย ๆ กัน เพียงแต่ตัวเครื่องมือกลับวางกันคนละทิศคนละทาง
ลองมาดูวิธีการหมุนจอ ย้ายมุมมอง ย้ายมุมกล้องกันก่อน
Alt+คลิกซ้าย คือ หมุนมุมมอง หมุนจอ หรืออาจใช้ Mouse จับมุมของ View Cube แล้วหมุนก็ได้
Alt+คลิกกลาง คือ เลือนซ้าย ขวา บน ล่าง หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Pan
Alt+คลิกขวา คือ Zoom In และ Zoom Out ถ้าจะไม่กด Alt ค้างไว้ ก็ใช้ลูกกลิ้งกลาง Mouse ซูมเอาก็ได้
2. ตั้งค่าก่อนสร้างวัตถุ
- เมื่อจะสร้างวัตถุ ให้ตั้งค่า Menu Bar เป็น Polygons ดูตัวอย่างที่มุมซ้ายบน ของภาพด้านล่าง (Version ที่อิเฎลทำ Screengrab มาให้ดูคือ Maya 2012 ซึ่งอิเฎลไม่แน่ใจว่า Version อื่นจะมีแถบเครื่องมือในบริเวรเดียวกันหรือไม่)
- เมื่อตั้งค่า Menu Bar แล้ว ให้คลิกที่แถบเครื่องมือ Polygon เพื่อดู List ว่าสร้างรูปทรงอะไรได้บ้าง
3. สร้างกล่อง
- ลองคลิกที่รูปกล่อง
- เมื่อคลิกแล้ว Cursor ของ Mouse จะเปลี่ยนไป
- ให้ใช้ Mouse วาดสี่เหลี่ยมลงบน Grid (พื้นที่ตาราง)
- เมื่อลากรูป 4 เหลี่ยมแล้วก็จะเห็นเครื่องหมาย “ดึงขึ้น” ทำให้รูปสี่เหลี่ยมที่พื้นกลายเป็นรูปทรง
4. กำหนดลักษณะที่ต้องการเห็น เวลาทำงาน
หลังจากสร้างกล่องขึ้นมาแล้ว อิเฎลเห็นแต่เส้นขอบ ดูเหมือนว่ากล่องเป็นกล่องใส ๆ บางคนอาจเห็นเป็นกล่องทึบสีเทา ซึ่งลักษณะที่เรามองเห็นวัตถุสามารถเลือกได้ โดยดูที่ View Port บริเวรขอบด้านบนของพื้นที่ทำงาน ให้ลองคลิกกลับไปกลับมาเล่น ๆ ก็จะทราบว่าปุ่มไหนใช้ทำอะไร
5. คำสั่งดัดจุด ไม่ใช่ฤๅษีดัดตน มีขึ้นเพราะ หลายครั้งรูปทรงเลขาคณิตไม่ใช้สิ่งที่เราต้องการสร้างเสมอไป เราอาจอยากได้รูปคน รูปรองเท้า รูปโคมไฟแปลก ๆ ณ ที่นี้จะสอนวิธีการดัดจุด เส้น และ ด้าน ให้ทุกคนฝึกดัดวัตถุบ่อย ๆ จะได้วัตถุสวยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญทั้งสิ้น
เวลานี้ อิเฎลต้องการดัดกล่องให้บิดเบี้ยว มาทำไปพร้อม ๆ กัน
- ก่อนอื่นต้องคลิกที่กล่อง
- ตามด้วยคลิกขวาค้างไว้
- จะมี Menu คำสั่งปรากฏขึ้น
- ลาก Mouse ไปยัง Edge หรือ Vertex หรือ Face
- แล้วค่อยยกนิ้วกลางขึ้น
Vertex คือ ดัดวัตถุโดยเคลื่อนย้ายจุด (มุมกล่อง หรือ ตรงที่เส้นตัดกัน)
Edge คือ ดัดวัตถุโดยการย้ายเส้นขอบ (เส้นรอบ ๆ กล่อง)
Face คือ ดัดวัตถุโดยการเคลื่อนย้ายผิว (แต่ละด้าน หรือ บริเวรระหว่างเส้น)
ทั้ง 3 แบบ อาจเลือกพร้อมกับหลาย ๆ อันก็ได้ เช่น อาจเลือกจุดใดจุดหนึ่งแล้วลางย้ายที่ หรือเลือกหลายจุดก็ได้ เวลาเลือกหลาย ๆ จุด ให้กด Shift ค้างไว้
เมื่อเลือกส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุแล้ว ต้องเคลื่อนย้ายสิ่งที่เลือก มี 3 เครื่องมือ ดังนี้
(อย่ากดค้าง)
กดปุ่ม W คือเคลื่อนย้าย ซ้ายขวา ขึ้นลง
กดปุ่ม E คือหมุน
กดปุ่ม R คือดึง ย่อ หด ขยาย
จำไว้ว่า ต้องเลือกวัตถุ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุก่อนเสมอ จึงจะใช้ 3 เครื่องมือนี้ได้ กรณีเลือกจุด หรือ Vertex จะใช้ E และ R ได้ผลก็ต่อเมื่อเลือก 2 จุดขึ้นไป เพราะจุด ๆ เดียวจะไปหมุนหาอะไร หรือจะไปขยายจุดได้อย่างไร
ถ้าดัดวัตถุจนเป็นที่พอใจแล้ว ให้คลิกขวาค้างไว้เหมือนเดิม แล้วลาก Mouse ไปปล่อยที่คำว่า “Object Mode” ซึ่งหลังจากนี้ เวลาเลือกวัตถุก็จะเลือกได้ทั้งชิ้น กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม (ไม่ได้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง)
รูปด้านล่าง แสดงตัวอย่างของการใช้ปุ่ม W จะมี 3 แกน x,y,z เพื่อให้แม่นยำในการย้าย
รูปด้านล่าง แสดงตัวอย่างของการใช้ปุ่ม E จะหมุนได้ 3 แกนเช่นกัน
6. คำสั่งเพิ่ม Segment (หรือ Subdivisions) ของกล่อง ในกรณีกล่องยังบิดเบียวไม่พอ อยากให้มีการบิดตรงกลาง ๆ บ้าง
กรณียังไม่เคยทำดัดกล่อง แต่คิดไว้ก่อนว่าน่าจะมีหลาย ๆ Segment
- ให้คลิกที่กล่อง
- แล้วมองไปที่แถบเครื่องมือตั้งค่าด้านขวามือ
- คลิกที่ชื่อกล่อง (น่าจะชื่อ PolyCube1)
- แล้วเพิ่ม Subdivisions จาก 1 เป็นจำนวนอื่น ๆ
- ท่านจะเห็นว่ากล่องเหมือนมีลวดลายตารางที่ถี่ขึ้น
กรณีของเราตอนนี้ กรณีที่เราดัดกล่องไปเรียบร้อยแล้ว
- ให้ไปที่ Menu Bar
- เลือก “Edit Mesh”
- ถ้าหาคำสั่งนี้ไม่เจอ แสดงว่า Mode ไม่ได้อยู่ที่ Polygons (อธิบายแล้วในข้อ 1)
- เมือคลิก “Edit Mesh” ที่ Menu Bar แล้ว ให้เลือก Insert Edge Loop Tool
- จะเห็นได้ว่า Cursor ของ Mouse จะกลายเป็นลูกศรขาว ๆ
- ว่าแล้วให้คลิกแบ่งกล่องเป็นหลาย ๆ ส่วนตามต้องการ
- ถ้าตองการเส้นแนวขวาง วาดเส้นขวาง ๆ ลงบนส่วนที่จะแบ่ง
ทำเช่นนี้เพื่อให้มีจุดอ้างอิง หรือ เส้นขอบ หรือ พื้นผิว ที่จะดัดวัตถุได้ละเอียดขึ้น
ดูตัวอย่างว่าดัดวัตถุได้ละเอียดขึ้นเป็นเช่นไร
คราวนี้อิเฎลก็ทำเหมือนเดิม
- โดยคลิกขวาค้างไว้แล้วลาก mouse ไปปล่อยที่ “Face”
- จากนั้นก็ลงมือเคลื่อนย้าย Face ด้วยปุ่ม “W” ตามรูปด้านล่าง
7. Boolean หมายถึง รวม หรือ แยก หรือ ตัดทอนวัตถุ เช่น เอาวัตถุ 2 ชิ้นมาต่อกัน หรือเอามาตัดกัน
ก่อนอื่นต้องมีวัตถุอย่างน้อย 2 ชิ้น เอาเป็นว่า 2 ชิ้นจะง่ายสุด
- อิเฎลสร้างทรงกลม
- แล้วลากทรงกลมนั้นมาเบียดกับสี่เหลี่ยมเบี้ยว ๆ ที่เคยสร้างไว้
- อาจจะลดจำนวน Segment ของทรงกลมให้พอดี ๆ กับ Segment ของสี่เหลี่ยม โดยคลิกที่ชื่อทรงกลมด้านขวามือของหน้าจอ
ถ้าต้องการคำสั่ง Boolean เป็น window เล็ก ๆ ขึ้นมา
- ให้ไปที่ Menu Bar
- เลือก “Mesh”
- แล้วเลือก “Booleans”
- แล้วเลือก “———-”
แต่จะไม่เอาเป็น window เล็ก ๆ ออกมาก็ได้ สามารถใช้เครื่องมือโดยการเลือก Union หรือ Difference หรือ Intersection ได้ทันที
(ก่อนจะใช้คำสั่ง ต้องเลือกวัตถุก่อน โดย เลือก 2 วัตถุ โดยการกด Shift ค้างไว้)
Union หมายถึง เอาวัตถุที่เลือกทั้งหมดมารวมกันเป็นวัตถุเดียว
Difference หมายถึง ตัดวัตถุหนึ่งด้วยอีกวัตถุหนึ่ง โดยวัตถุแรกที่เลือกตอนกด Shiftจะเป็นวัตถุที่เหลืออยู่
Intersection หมายถึง เอาเฉพาะส่วนที่ทับซ้อนกัน
ทำพร้อมกัน
- อิเฎลกด Shift ค้างไว้
- แล้วเลือกกล่อง
- จากนั้นก็เลือกทรงกลม
- จากนั้นก็ปล่อย Shift
- แล้วมาคลิกที่ Difference ในหน้าต่างเล็ก ๆ
ผลลัพธ์ที่ได้หลังจากคลิก Difference รูปสี่เหลี่ยมที่อิเฎลเลือกก่อนทรงกลม จะยังอยู่ โดยส่วนที่หายไปเป็นส่วนที่ทรงกลมกินเข้ามา
8. ใส่สีวัตถุ
- ให้เลือกที่วัตถุ
- แล้วคลิกขวาค้างไว้
- ลาก Mouse ลงมาจนถึงคำว่า “Assign Favorite Material”
- แล้วเลือก Blinn หรืออื่น ๆ
- มองไปทางขวามือ
- ที่แถบแนวตั้ง Attribute Editor
- เลือกแถบแนวนอนที่เป้นชื่อ Material (ใครเลือก Blinn ก็มักจะชื่อแถบ Blinn)
- ใส่สีตามต้องการ Color แปลว่าสี Transparency แปลว่าความโปร่งใส
9. Render หรือ เอาผลงานออกมาเป็นรูปแบบภาพหรือวิดีโอ
- มองที่แถบเครื่องมือด้านบน
- ปุ่มที่เป็นเครื่องหมาย “Cut! Movie เริ่มถ่ายทำหนัง” ที่วงสีแดงไว้ในภาพด้านล่าง
- ปุ่มที่มี 2 จุดด้านหน้า (ปุ่มขวาสุด) คือ Render Settings ไว้ตั้งค่าขนาดภาพหรือขนาด Video
- เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่มที่เป็นป้าย “Cut!” เปล่า ๆ (ด้านซ้ายมือของในวงกลมแดง)
- ตอนนี้จะเห็นผลลัพธ์ออกมา
- สามารถกด File Save ได้ตามปกติ
ถ้าต้องการสร้าง Object ที่ซับซ้อนขึ้น ให้ฝึกดัดวัตถุให้คล้อง ทำไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็ดัดได้เร็ว และดัดได้สวยเอง ตอนแรก ๆ อาจจะงง ๆ ว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง แต่ถ้าชินกัยการทำงานของ Software แล้วก็จะรู้สึกง่ายกว่าปั้นดินน้ำมัน

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับความรู้ครับผม

    ตอบลบ
  2. สอบถามหน่อยค่ะ คลิกกลางเมาส์ไม่ได้เวลาจะเลื่อนหรือ pan ขึ้น Error สีแดง แก้ยังไงคะ

    ตอบลบ